:: สถาบันวิจัยการเรียนรู้ (Learning Research Institute) :: .:: ร้านต้นกล้า ::. .:: ร้านต้นกล้า ::.

ลักษณะของห้องเรียนในศตวรรษที่ 21


แปลและเรียบเรียง : ณัฏฐิณี ศรสุวรรณ

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวารสารวิชาการ ที่ผลิตโดยสถาบันวิจัยการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อแวดวงการศึกษาในระดับปฐมวัย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคณะครู ผู้บริหารสถานศึกษา ในการรับมือและก้าวทันการเปลี่ยนแปลง หากท่านมีความประสงค์จะนำไปเผยแพร่ กรุณาติดต่อ ฝ่ายวิชาการ lri2015journal@gmail.com

1.    การเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน

            ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเน้นไปที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และครูก็เป็นศูนย์กลางเช่นเดียวกันแต่ครูจะไม่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้บรรยายอีกต่อไป แต่ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ โดยที่นักเรียนกำลังเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ และครูทำหน้าที่เหมือนผู้ฝึกสอน ช่วยนักเรียนโดยให้นักเรียนเป็นผู้ลงมือทำเอง นักเรียนจะเรียนรู้ที่จะใช้วิธีการสอบถาม (inquiry method)และเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกแห่งความเป็นจริงที่พวกเขาจะได้เรียนรู้ก่อนที่พวกเขาจะออกไปจากห้องเรียน

          นักเรียนจะไม่ได้เรียนเป็นรายวิชาอีกต่อไป โดยพวกเขาจะทำงานในลักษณะของโครงงานสหวิทยาการ  (Interdisciplinary projects)ซึ่งใช้ข้อมูลข่าวสารและทักษะจากหลายสาขาวิชา และได้กล่าวถึงมาตรฐานเกี่ยวกับการศึกษาที่มีความจำเป็นอย่างมาก

            ตำราเรียนไม่ได้เป็นแหล่งข้องมูลหลักอีกต่อไปนักเรียนใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย  รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อที่จะหาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลที่พวกเขาต้องการ โดยที่พวกเขาอาจจะหาข้อมูลจากวารสารวิชาการต่างๆ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์สิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้มาหรือเพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ  แทนที่การทำเพียงแค่โครงงานพิเศษ เทคโนโลยีจะถูกบูรณาการกันอย่างลงตัวในการสอนในทุกๆ วัน

ณ ห้องเรียนใหม่แห่งนี้  เป็นการจัดกลุ่มนักเรียนแบบยืดหยุ่น อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่แต่ละคนต้องการ เป็นมาตรฐาน ครูยังคงใช้การจัดการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม  แต่ไม่ใช่การเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาที่เราใช้กัน ครูประเมินนักเรียนเกี่ยวกับความต้องการในการเรียนการสอนและรูปแบบในการเรียนรู้ หลังจากนั้นจึงใช้การเรียนการสอนและวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อที่จะได้ตอบสนองกับความต้องการของนักเรียนทุกคนในห้องเรียน

            การมุ่งประเด็นไปที่การเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียนนั้นมีความแตกต่าง ประเด็นไม่ได้อยู่บนพื้นฐานการเรียนรู้โดยการจำและการนึกย้อนถึงข้อมูลต่างๆ อีกต่อไป  แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน ณ ตอนนี้ นักเรียนได้ใช้ข้อมูลที่ได้เรียนรู้มาและแสดงความชำนาญหรือความรอบรู้ของเนื้อหาในโครงงานที่พวกเขาได้ไปสำรวจข้อมูล วิธีในการค้นหาคำตอบ และวิธีการใช้ข้อมูล ( เราทำตลอดเวลาในห้องเรียนวิทยาศาสตร์) จุดที่เราเน้นจะมุ่งไปที่ห้องเรียนคือการสร้างผู้เรียนให้เรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยเป้าหมายในใจเป้าหมายนี้ นักเรียนจะก้าวไปข้างหน้าในบทบาทของนักเรียนผ่านประสบการณ์การเรียนรู้แห่งความเป็นจริง

            เหมือนกับว่าการเรียนรู้ของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไป และมีการประเมินสำหรับการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  ครูใช้วิธีที่หลากหลายของการประเมินผลเชิงปฏิบัติการ (Performance – based assessment)เพื่อใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน การทดสอบเพื่อวัดความสามารถของนักเรียนในการจำและการนึกย้อนถึงข้อเท็จจริงนั้นจึงไม่มีอีกต่อไป ทั้งหมดหมายถึงการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน แทนที่ด้วยการที่ครูใช้โครงงานของนักเรียน การนำเสนองาน และการประเมินผลเชิงปฏิบัติการ (Performance – based assessment) อื่นๆ เพื่อทำการตัดสินความสำเร็จของนักเรียนและความต้องการของนักเรียนแต่ละบุคคล

            เป้าหมายของห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 คือการเตรียมนักเรียนให้เป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพในสถานที่ทำงาน

2.    การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมครู

          เหมือนกับว่าห้องเรียนกำลังเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ครูต้องปรับเปลี่ยนบทบาทและความรับผิดชอบ ครูไม่ได้สอนแยกวิชาอีกต่อไป ครูในยุคปัจจุบันจะต้องเป็นผู้ร่วมสอน(co - teach) สอนเป็นทีม(team teach) และร่วมมือกับสมาชิกของภาควิชาต่างๆ ผู้มีส่วนร่วมรวมไปถึง ผู้บริหาร คณะกรรมการ ผู้ปกครอง และนักเรียนร่วมกันแบ่งปันความรับผิดชอบกับครูในการให้ความรู้แก่นักเรียน

            ครูควรรู้ว่าต้องรวมกลุ่มหรือมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนในการเรียนรู้ และดำเนินการสอนที่มีประสิทธิภาพโดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เช่นเดียวกันกับการใช้เทคโนโลยี ครูจะต้องอยู่ข้างๆ นักเรียน ในขั้นตอนการเรียนรู้ ในฐานะผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต พวกเขาเป็นผู้มีส่วนร่วมที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ของพวกเขาเอง พวกเขาค้นหาทักษะการพัฒนาอย่างมืออาชีพซึ่งจะช่วยให้พวกเขาปรับปรุงทั้งการเรียนรู้และการแสดงออกของพวกเขาเอง

            บทบาทใหม่ของครูในห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21 คือต้องการการเปลี่ยนแปลงในองค์ความรู้ของครูและพฤติกรรมในห้องเรียนของครู ครูต้องมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้ :

·  ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในห้องเรียน ใช้ทรัพยากรและโอกาสที่เหมาะสม เพื่อที่จะสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ซึ่งจะทำให้เด็กสร้างความรู้ด้วยตัวของพวกเขาเอง ครูต้องเข้ากับนักเรียนและรู้วิธีในการดำเนินบทเรียนอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการเรียนการสอนที่มีความหมายซึ่งจะทำให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้

·  สร้างความปลอดภัย ให้การสนับสนุน และ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในเชิงบวกสำหรับนักเรียนทุกคน แผนการดำเนินงานที่ต้องการนี้อยู่ในส่วนของครูเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เพื่อสร้างการจัดการห้องเรียนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และเพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษต่างๆ ได้เข้าถึงการศึกษาและการช่วยเหลืออื่นๆ ครูได้รับการฝึกฝนทักษะในการจัดการประสบการณ์ความรู้หลายๆด้าน เพื่อที่จะสร้างสิ่งที่เป็นด้านบวกและสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียนทุกคนในห้องเรียน กระบวนการและนโยบายของห้องเรียนเป็นส่วนสำคัญของการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ในเชิงบวก ครูประเมินและมีเทคนิคการจัดการห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพในลักษณะที่สอดคล้องกัน ครูใช้กิจวัตรประจำวันและกระบวนการซึ่งทำให้เวลาในการสอนมีมากขึ้น นักเรียนจะรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ครูคาดหวังจากพวกเขา  และครูรู้ว่าจะจัดการอย่างไรกับสิ่งรบกวนต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในแง่ลบกับนักเรียนในชั่วโมงการเรียนการสอน

· แผนสำหรับระยะยาวและระยะสั้น

· สนับสนุนการร่วมมือกันระหว่างนักเรียนในห้องเรียน รูปแบบของครูและส่งเสริมคุณค่าและกระบวนการประชาธิปไตยซึ่งมีความจำเป็นสำหรับโลกแห่งความเป็นจริง

·  ให้กำลังใจในความอยากรู้ของเด็ก และกระตุ้นเด็กจากภายในเพื่อเรียนรู้ ครูช่วยให้เด็กเป็นอิสระ มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้มีความคิดวิพากษ์วิจารณ์ โดยการจัดเตรียมประสบการณ์ซึ่งจะพัฒนาความเป็นอิสระของนักเรียน เกี่ยวกับการวิจารณ์  ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ไขปัญหา ครูจะต้องมีเวลาที่มากพอสำหรับเด็กเพื่อที่จะทำงานให้ลุล่วงไปได้ และจะต้องมีความชัดเจนในความคาดหวัง เด็กนักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ของพวกเขาเอง ภายในบรรยากาศซึ่งเคารพต่อความต้องการในการพัฒนาในลักษณะที่เป็นลักษณะเฉพาะ และสนับสนุนการคาดหวังด้านบวกและความเคารพซึ่งกันและกัน

·  ทำให้นักเรียนรู้สึกมีคุณค่า ครูเน้นไปที่ความพยายามในการร่วมมือกันในกลุ่มมากกว่าการพยายามแข่งขันระหว่างบุคคลผ่านโครงงานการร่วมมือกันและจิตวิญญาณของทีม

· สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับนักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อนร่วมงาน และผู้มีส่วนร่วมอื่นๆ ครูใช้การเขียน การพูด และเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้านบวกและเพื่อให้บุคคลอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของนักเรียน

·  ใช้ภาษาเพื่อสนับสนุนการแสดงออกเฉพาะตัวการพัฒนาอัตลักษณ์ และการเรียนรู้ในตัวนักเรียน

·  ฟังอย่างใช้ความคิดและมีการตอบสนอง

·  สนับสนุนการตระหนักในด้านวัฒนธรรมและความละเอียดอ่อนของวัฒนธรรมให้กับนักเรียน ครูสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอื่นๆ และค่อยๆ สอนที่ละเล็กทีละน้อยเกี่ยวกับความเคารพผู้อื่นและความแตกต่างของพวกเขา

(Commitment to the Role of Teacher as a Facilitator of Learning, 2007 )

บทสรุป

          ถ้านักเรียนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสถานที่ทำงานในศตวรรษที่ 21พวกเขาต้องทำให้ทักษะของศตวรรษที่ 20 มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป และต้องรอบรู้ในทักษะของศตวรรษที่ 21 ครูได้รับความไว้วางใจในการทำให้นักเรียนเข้าใจอย่างถ่องแท้ในทักษะเหล่านั้นเช่นเดียวกับสร้างรูปแบบต่างๆ เหล่านั้นให้เกิดขึ้นในห้องเรียน ลักษณะของห้องเรียนในศตวรรษที่21จะมีความแตกต่างจากห้องเรียนในอดีต เพราะว่าห้องเรียนในศตวรรษที่21 จะมุ่งประเด็นไปที่การผลิตนักเรียนทีมีประสิทธิภาพสูง เป็นผู้สื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เป็นผู้คิดสร้างสรรค์ และเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี

        

    อ้างอิง

Commitment to the Role of Teacher as a Facilitator of Learning, (2007 )Retrieved January 30,2007 from http://www.onu.edu/a+s/cte/knowledge/facilitator.shtml


 

เปลี่ยนจาก

คำอธิบาย

เปลี่ยนเป็น

คำอธิบาย

ครูเป็นศูนย์กลาง

ครูใช้เวลาในการเผยแพร่ข้อมูลไปสู่นักเรียนผ่านคำสั่งโดยตรง

นักเรียนเป็นศูนย์กลาง

ครูทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก และฝึกฝนนักเรียนในฐานะที่พวกเขาทำงานอยู่บนโครงงานที่แท้จริง

ครอบคลุมไปด้วยเนื้อหา

ครูใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสอนเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาผ่านการสอนโดยตรงและเปลี่ยนนำไปสู่ระยะที่มั่นใจได้ว่าวัสดุทุกอย่างได้รับการนำออกมาสอนแล้ว โดยไม่สนว่าเด็กจะเรียนรู้หรือไม่

เรียนรู้และลงมือทำ

ครูเป็นผู้ออกแบบโครงงานเพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สำคัญ การแสดงออกของนักเรียนกับโครงงานแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพหรือความบกพร่องในมาตรฐานนั้น มีการช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ยังไม่ได้มาตรฐาน

การจดจำข้อมูล

ครูใช้เวลาจำนวนมากในการใช้คำสั่งโดยตรง เป็นในการประเมินที่เกิดขึ้นลักษณะของการทดสอบในช่วงท้ายซึ่งการทบทวนข้อมูลเป็นการทดสอบ

การนำข้อมูลไปใช้

ครูให้นักเรียนใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาโครงงานการเรียนรู้ตามสภาพจริงซึ่งความชำนาญของข้อมูลจะถูกแสดงออกมาในรูปแบบของข้อมูลที่ถูกใช้ในโครงงาน

ผู้สอน

ครูใช้เวลาจำนวนมากในการยืนและถ่ายทอดความรู้ที่มาจากครู

เป็นผู้อำนวยความสะดวก

ครูเป็นผู้จัดเตรียมโครงงานซึ่งเป็นการรวมนักเรียนในการทำวิจัยและค่อยๆ ปรับความรู้ด้วยตัวพวกเขาเอง ครูทำหน้าที่เป็นครูฝึกและเตรียมการสนับสนุน สิ่งที่นักเรียนต้องการ นักเรียนทำหน้าที่เป็นผู้จัดการของโครงงานนั้นๆ

 

องค์ประกอบเป็นการรวมกลุ่มทั้งหมด

เด็กทุกๆ คนได้รับการสอนเหมือนกัน รูปแบบเดียวกันทุกคน

องค์ประกอบของกลุ่มมีความยืดหยุ่น ขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กแต่ละคน

ครูจัดกลุ่มนักเรียนขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็ก คำสั่งแทบจะไม่เป็นการสั่งทั้งกลุ่ม คำสั่งจะเกิดขึ้นเป็นตัวบุคคล เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ มากกว่าตามความต้องการ

รูปแบบวิธีการเรียนรู้และการสอนเป็นรูปแบบเดียว

 

รูปแบบวิธีการเรียนรู้และการสอนหลากหลายรูปแบบเพื่อที่จะรวมนักเรียนทุกคน

 

การจดจำและการระลึกได้

การทดสอบเป็นความสำคัญอันดับแรกของการประเมินและมุ่งประเด็นไปที่การระลึกได้และทักษะการคิดระดับต่ำ

ทักษะการคิดขั้นสูง

ครูมอบหมายโครงงานในชั้นเรียนซึ่งเป็นโครงงานที่ต้องการทักษะการคิดขั้นสูง (การสังเคราะห์ การวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้ และการประเมินผล)

 

เปลี่ยนจาก

คำอธิบาย

เปลี่ยนเป็น

คำอธิบาย

ความรู้จากสาขาวิชาเดียว

ห้องเรียนถูกจัดการให้แยกออกจากกันโดยปราศจากการเชื่อมโยงไปยังห้องเรียนอื่นๆ หรือวิชาต่างๆ

สหวิทยาการ

( ความรู้ที่รวมเอาหลายสาขามาประกอบกัน)

ครูมอบหมายให้นักเรียนทำโครงงานให้เสร็จสมบูรณ์ซึ่งถูกออกแบบเพื่อการใช้ข้อมูลและทักษะซึ่งเรียนรู้ผ่านวิชาอื่นๆ โครงงานบางโครงงานและการมอบหมายงานอาจจะสำเร็จโดยการร่วมมือกันระหว่าง 2 วิชา หรือมากกว่า (ตัวอย่างเช่น วิชาประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาศาสตร์)

การแยกออกจากกัน

นักเรียนได้รับการสนับสนุนให้ทำงานอย่างเอกเทศ

การร่วมมือกัน

ครูอนุญาตให้เด็กทำงานร่วมกันและเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ ในห้องเรียนรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญภายนอกโรงเรียน

การทดสอบหรือการประเมินโดยการทดสอบ

นักเรียนได้ถูกประเมินผ่านการสอบเท่านั้น

การประเมินผลอิงความสามารถ

ครูใช้โครงงาน ชิ้นงาน และการแสดงออกในการประเมินผลเพื่อตัดสินความสำเร็จและความต้องการของนักเรียน การประเมินผลยังถูกปรับให้เข้ากับพรสวรรค์และความต้องการของนักเรียน

การเรียนการสอนขึ้นอยู่กับหนังสือเรียน

ครูจะทำตามหนังสือเรียนบทต่อบท หน้าต่อหน้า หนังสือเรียนเป็นแหล่งข้อมูลหลัก

แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลายรวมไปถึงเทคโนโลยี

ครูใช้หนังสือเรียนในฐานะที่เป็นทรัพยากรอื่นๆ ซึ่งจะถูกใช้ร่วมกันกับอินเตอร์เน็ต วารสาร บทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ

 

เทคโนโลยีเป็นสิ่งหรูหรา

ครูเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีเป็นหลักและส่วนมากใช้ในการนำเสนอข้อมูล

เทคโนโลยีถูกบูรณาการอย่างเต็มรูปแบบในห้องเรียน

ครูให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีอย่างปกติเพื่อการหาข้อมูล เครือข่ายการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและระหว่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการผลิตการนำเสนอโครงงานและการแสดงออก

 

เปลี่ยนจาก

คำอธิบาย

เปลี่ยนเป็น

คำอธิบาย

รูปแบบการสอนของครูมีเพียงรูปแบบเดียว

ครูใช้วิธีการสอนเพียงรูปแบบเดียวตลอดเวลา (ตัวอย่างเช่น พูดอย่างเดียวเท่านั้น หรือเขียนลงบนกระดานเท่านั้น) ครูคาดหวังให้นักเรียน ส่งงานในรูปแบบเดิมตลอดเวลา                 ตัวอย่างเช่น งานทุกอย่างจะอยู่ในรูปแบบของงานเขียน)

ครูจัดการเรียนการสอนเพื่อนักเรียนทุกคน

ครูใช้วิธีการที่แตกต่างของการนำเสนอข้อมูล วิธีการขึ้นอยู่กับความชอบของเด็กแต่ละคนหรือเป็นกลุ่ม นักเรียนสามารถทำให้ครูเชื่อข้อมูลผ่านโครงงาน การแสดงออก การมอบหมายงาน ในความหลากหลายต่างๆ ขึ้นอยู่กับความชอบของพวกเขา (การเขียน การพูด ดนตรี การแสดง ฯลฯ)

เรียนรู้เนื้อหา

มุ่งประเด็นไปที่เนื้อหาที่ครอบคลุม

การเรียนรู้ที่เน้นตัวผู้เรียนโดยตรง

ผ่านโครงงานต่างๆ ครูให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านวิธีการถามคำถามที่ถูกต้อง ทำการสำรวจที่เหมาะสม ได้คำตอบ และใช้ข้อมูล ดังนั้น พวกเขาสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของพวกเขา

การเรียนรู้โดยแยกทักษะและเป็นในลักษณะของข้อเท็จจริง

ข้อเท็จจริงและทักษะต่างๆ ที่สอนถูกดึงออกจากบริบทเพื่อจุดมุ่งหมายของพวกเขาเอง

การใช้ความหลากหลายของชนิดของข้อมูลเพื่อการทำโครงงานการเรียนรู้ที่แท้จริงให้สำเร็จ

ครูออกแบบโครงงานซึ่งช่วยให้เด็กเรียนรู้ข้อมูลและทักษะผ่านการใช้ข้อมูลและทักษะในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง

การปฏิบัติหรือแสดงออกในการเป็นนักเรียนอย่างชัดเจน

นักเรียนมีส่วนร่วมทางการศึกษาอย่างเข้มงวด (ตัวอย่างเช่น การจดบันทึก การพูด การฟังเพื่อการบรรยาย)

นักเรียนทำหน้าที่เหมือนคนงานที่อยู่ในกฎระเบียบ

ครูมอบหมายงานให้นักเรียน ไม่ว่าจะเป็นโครงงานและการแสดงต่างๆ เพื่อที่จะอนุญาตให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติหรือแสดงออกในทางที่บุคคลหนึ่งควรจะต้องทำในลักษณะของโลกแห่งความจริง (เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักคณิตศาสตร์ ฯลฯ

 

การสอนโดยการแยกออกจากกัน

ปิดประตูและทำงานเพียงลำพังโดยไม่มีการติดต่อหรือขอรับความช่วยเหลือจากภายนอกห้องเรียน

การสอนในการร่วมมือกัน

ครูมีส่วนในการร่วมสอนและสอนร่วมกันเป็นทีม เช่นเดียวกันกับการทำงานด้วยความร่วมมือกันกับสมาชิกในภาควิชาต่างๆ เพื่อปรับปรุงการเรียนรู้สำหรับนักเรียน

การสอนในลักษณะที่ทำให้นักเรียนขาดความเชื่อมต่อหรือไม่มีส่วนร่วม

นักเรียนเกิดความเบื่อเพราะว่าโรงเรียนไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันและพวกเขารู้สึกว่ามีพลังลดลง

การให้นักเรียนในศตวรรษที่ 21มีปฏิสัมพันธ์หรือมีส่วนร่วม

ครูพิจารณาโดยใช้วิธีหาลักษณะเฉพาะตัวของพลังสมองในศตวรรษที่ 21 และลักษณะนิสัยของชาวดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 เพื่อจัดเตรียมการการสอนที่มีปฏิสัมพันธ์กันและการสอนที่มีประสิทธิภาพ

 

เปลี่ยนจาก

คำอธิบาย

เปลี่ยนเป็น

คำอธิบาย

การสอนในเนื้อหาวิชา

ครูมุ่งประเด็นการสอนเป็นรายวิชา

การสอนเพื่อการเตรียมนักเรียนเพื่อสถานที่ทำงานในศตวรรษที่ 21

ครูรวมองค์ประกอบต่างๆ ของสถานที่ทำงานในศตวรรษที่ 21เข้าไปในห้องเรียนเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนในประสบการณ์ในสถานที่ทำงานในศตวรรษที่ 21และทักษะต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ครูเป็นผู้ให้ความรู้แก่นักเรียนแต่เพียงผู้เดียว

ครูเป็นผู้รับผิดชอบสำคัญสำหรับให้การศึกษาแก่นักเรียน

แบ่งความรับผิดชอบสำหรับการศึกษาให้แก่นักเรียน

ครูติดต่อสื่อสารกับผู้มีส่วนร่วมทุกคน ( ผู้บริหาร คณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน) และการเข้าร่วมเพื่อช่วยเหลือและเพื่อการแสดงผลการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพของนักเรียน

“นั่งและได้รับ” เพื่อการพัฒนาอย่างมืออาชีพ

ครูมีส่วนและยอมรับการพัฒนาอย่างไม่เป็นมืออาชีพและไม่มีประสิทธิภาพ

การพัฒนาอย่างมืออาชีพในศตวรรษที่ 21และสังคมการเรียนรู้

ครูมีส่วนในความกระตือรือร้นและวางแผนเข้าร่วมในการพัฒนาอย่างมืออาชีพซึ่งใช้การเรียนรู้จากสังคมทั่วไปเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียนและการบรรลุผลสำเร็จ

ครูรอเพียง 1 คำตอบจากนักเรียน

ครูตั้งคำถามระดับต่ำซึ่งต้องการการตอบที่เป็นความจำ เน้นไปที่คำตอบที่ถูกต้อง

ครูรอคำตอบที่หลากหลายจากนักเรียน

ครูตั้งคำถามระดับสูงซึ่งต้องการทักษะการคิดขั้นสูงกับวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เน้นไปที่ชนิดของคำถาม

ครูสะท้อนผลงานจากผลสำเร็จของนักเรียน

ครูวิเคราะห์คะแนนของการประเมินสำหรับจุดมุ่งหมายของกระบวนการการรายงาน

นักเรียนสะท้อนให้เห็นถึงผลสำเร็จของนักเรียนร่วมกับกับครู

ครูและนักเรียนวิเคราะห์คะแนนของการประเมินเพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อน เพื่อแนะนำในการสอนและการสนับสนุนทางการศึกษา

 

รูปแบบไหนที่จะสามารถอธิบายห้องเรียนหรือโรงเรียนของคุณ?

                                   

ห้องเรียนในศตวรรษที่ 20

ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21

 

ใช้เวลาเป็นฐาน

ใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน

มุ่งประเด็นไปที่ :  การท่องจำของข้อมูลที่ไม่ปะติดประต่อ

มุ่งประเด็นไปที่ :สิ่งที่นักเรียนรู้ สามารถทำได้ และดูเหมือนว่าทุกๆ รายละเอียดจะถูกลืมไป

บทเรียนมุ่งประเด็นไปที่ระดับต่ำของ Bloom’s Taxonomy ความรู้- ความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้

การเรียนถูกออกแบบอยู่บนระดับที่สูงขึ้นของ Bloom – การสังเคราะห์ การวิเคราะห์ และการประเมินผล (รวมไปถึงระดับที่ต่ำกว่าเช่นหลักสูตรถูกออกแบบจากระดับล่างขึ้นบน)

ขับเคลื่อนด้วยตำราเรียน

ขับเคลื่อนด้วยงานวิจัย

การเรียนการสอนที่ผู้สอนสอนเพียงฝ่ายเดียวโดยผู้เรียนนั่งนิ่งเฉย

การเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน

ผู้เรียนต่างทำงานแยกกันในห้องเรียนโดยมีกำแพงกั้น 4 ด้าน

ผู้เรียนทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมห้องและคนอื่นๆ รอบโลก- ห้องเรียนโลกาภิวัตน์

ครูเป็นศูนย์กลาง: ครูเป็นศูนย์กลางของความสนใจและเป็นผู้ให้ข้อมูล

นักเรียนเป็นศูนย์กลาง: ครูทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้ฝึกสอน

นักเรียนไม่ค่อยมีอิสระ

นักเรียนมีอิสระมาก

ปัญหาเรื่องระเบียบวินัย – ครูไม่เชื่อใจนักเรียนและในทางกลับกันนักเรียนก็ไม่เชื่อใจครู ไม่มีแรงจูงใจของเด็ก

ไม่มีปัญหาเรื่องระเบียบวินัย- ครูและนักเรียนมีความเคารพซึ่งกันและกันในฐานะผู้ร่วมเรียนรู้; นักเรียนมีแรงจูงใจมาก

หลักสูตรที่แยกออกเป็นส่วนๆ

หลักสูตรแบบบูรณาการและเป็นแบบสหวิทยาการ

เกรดเฉลี่ย

เกรดขึ้นอยู่กับสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้

ความคาดหวังต่ำ

ความคาดหวังสูง-“ถ้ามันไม่ดี มันจะไม่เสร็จ” พวกเราคาดหวัง และมั่นใจว่านักเรียนทุกคนจะประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ระดับสูง บางคนอาจจะไปได้สูงกว่านี้ – พวกเราต้องออกจากทางของพวกเขาและให้พวกเขาได้ทำ

ครูเป็นผู้ตัดสินหรือเป็นผู้ประเมิน

ตนเอง เพื่อน และการประเมินอื่นๆ สาธารณชน ผู้ชม การประเมินตามสภาพจริง

หลักสูตร/ โรงเรียนไม่มีความสัมพันธ์กันและไร้ความหมายสำหรับนักเรียน

หลักสูตรมีความเชื่อมโยงกับความสนใจของนักเรียน ประสบการณ์ พรสวรรค์ และโลกแห่งความเป็นจริง

หนังสือและตำราเป็นพาหนะสำคัญในการเรียนรู้และการประเมิน

การแสดงออก โครงงาน และรูปแบบที่หลากหลายของสื่อถูกใช้สำหรับการเรียนรู้และการประเมิน

ความหลากหลายในนักเรียนถูกละเลย

หลักสูตรและการสอนช่วยระบุในความหลากหลายของเด็ก

การอ่านออกเขียนได้มี 3 r

Reading (การอ่าน)

Writing(การเขียน)

Math(คณิตศาสตร์ )

 

ความรู้ที่หลากหลายของศตวรรษที่ 21 – จะเป็นการดำเนินคู่ไปกับการอาศัยอยู่และการทำงานในยุคโลกาภิวัฒน์สหัสวรรษใหม่ – ความรู้เกี่ยวกับการได้ยินเสียงและการเห็นภาพ ความรู้เกี่ยวกับการเงิน ความรู้ที่มนุษย์ต้องมีสำหรับการอยู่อย่างยั่งยืนในสังคมปัจจุบัน ความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล ความรู้เกี่ยวโลกไซเบอร์ สมรรถภาพทางกาย/สุขภาพ และทักษะที่เป็นสากล  

รูปแบบของโรงงานขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ว่าจ้างสำหรับยุคอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 การจัดการแบบวิทยาศาสตร์

รูปแบบของศตวรรษที่ 21

ขับเคลื่อนโดย NCLB (The No Child Left Behind) มาตรฐานอยู่ที่การทดสอบ

ขับเคลื่อนโดยการสำรวจ ความคิดสร้างสรรค์และทักษะในศตวรรษที่ 21

 

 


 

:: สถาบันวิจัยการเรียนรู้ (Learning Research Institute) ::