นายกฯ พูดถึงเรื่อง "การศึกษา" ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ วันที่ 22 มกราคม 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2559 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน ผมขอเป็นตัวแทนพี่น้องปวงชนชาวไทย ในการแสดงความยินดีและชื่นชมกับ “ทีมช้างศึกไทย” ที่ได้แสดงฝีมือ ฝีเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจที่ไม่ยอมแพ้ ในการแข่งขันฟุตบอล เอเอฟซี U-23 แชมเปี้ยนชิพ 2016 ในห้วงที่ผ่านมา ถึงแม้จะว่าเราจะไม่ได้เข้าสู่รอบลึก ๆ ต่อไปก็ตาม แต่ก็นับว่าเป็นความสำเร็จ อย่างหนึ่งในระยะเริ่มต้น เป็นก้าวแรกของการพัฒนาสู่อนาคต ของทีมลูกหนังไทยที่มีอนาคตสดใส ขอขอบคุณนักเตะ โค้ชซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง และทีมงานทุกคน ที่ได้ช่วยกันนำความสุข ความตื่นเต้น รอยยิ้ม และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติที่จดจ่ออยู่กับการเชียร์และเป็นกำลังใจ ทุกครั้งที่มีการแข่งขัน ผมเองก็ดูด้วย ขอบคุณที่สอนให้คนไทยรู้ว่าคนไทยนั้นเราไม่เป็นรองชาติใด เพียงแค่เรามุ่งมั่นตั้งใจจริง รวมทั้งให้ชาวไทยตระหนักว่าตราบใดที่กรรมการยังไม่เป่านกหวีด เราก็ยังมีความหวัง ดังนั้นทุกเรื่อง อย่ายอมจำนนต่ออุปสรรค ขอให้มีความเพียรอันบริสุทธิ์ดั่ง “พระมหาชนก” ชึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผมขอให้พี่น้องเชื่อว่า “ทุกปัญหามีทางออก” ถ้าเราหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกัน แบ่งเบาความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน ด้วยความรู้รัก สามัคคี ทุกอย่างสำเร็จแน่
วันนี้มีเรื่องที่อยากจะเรียนให้ทราบ แล้วก็เน้นย้ำให้กับพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน หลายเรื่องด้วยกัน
1. เรื่องแรกการแก้ไขปัญหายางพารา แบบยั่งยืน ครบวงจร สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ประชุมหารือในเรื่องการนำยางพาราตามที่รัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วน เข้าสู่การผลิตให้ได้โดยเร็ว เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการสร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตรของฝ่ายเศรษฐกิจ รวมทั้งการสนับสนุนให้บริษัทที่สมัครใจร่วมโครงการได้ใช้สิทธิประโยชน์ ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนของทั้ง สสว. และ BOI ด้วย ในโครงการที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้กลไกตลาดเดิมที่มีอยู่แล้ว ที่ค้าขายกันอยู่เดิม ก็คงให้ดำเนินการไปตามปกติ เป็นการแข่งขันทางการค้าโดยเสรี
2. เรื่องที่สอง เรื่องการวิจัยและพัฒนา จากปัญหาเรื่องการวิจัยพัฒนาที่ผ่านมาไม่ได้นำเข้าสู่การผลิต เพราะฉะนั้นรัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะให้ภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันกำหนดความต้องการว่าผลงานการวิจัยใดบ้างที่จะตรงกับความต้องการของประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างนวัตกรรม ทำให้วัสดุต้นทุนมีราคาสูงขึ้นด้วย เช่น ยาง ข้าว อะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นต้องไปดูภาคการผลิตด้วยเพื่อจะได้นำผลิตภัณฑ์จากการวิจัยเหล่านั้นมาใช้ในส่วนราชการ เป็นลำดับแรก ในปี 59 ได้มีการจัดสรรงบประมาณไปแล้ว เพียงแต่ว่า เอางบประมาณเหล่านั้นส่วนหนึ่งในแต่ละโครงการที่ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ ดำเนินการไปก่อนแล้วเราจะให้ซื้อผลผลิตทางการเกษตร คือต้นทุนเรื่องยางมาจากข้างล่าง ตรงกลางก็เอามาใช้ผลิตออกมา แล้วตรงปลายก็ให้ส่วนราชการซื้อไปใช้ ต้องแก้หลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขระเบียบการใช้จ่ายของสำนักงบประมาณเพื่อจะสามารถให้ใช้งบฯ ได้ร้อยละ 10 – 30 ของแต่ละกระทรวง เพื่อจะมาสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลงานการวิจัยพัฒนาภายในประเทศได้ ถ้าเราแก้ตรงกลางและตรงปลายได้จะเป็นการเริ่มต้นที่ดี อย่างที่หลายคนบอกว่า งบประมาณเราน้อย ปีนี้ 1% แล้ว ถามว่าผลิตออกมาได้เท่าไร ยังไม่เป็นรูปธรรม ในสิ่งที่เราผลิต ที่คิดค้นออกมา บางอย่างคิดมาไม่มีประโยชน์ ไม่ต้องไปคิด ซื้อเขาถูกกว่า ไปคิดทำไม ความเร่งด่วนก็คือเอาผลผลิตในประเทศที่มีล้นตลาด มีมากมาแปรรูป เพิ่มมูลค่าสร้างห่วงโซ่
3. เรื่องที่สาม เรื่องพื้นที่การปลูกยางพารา มีการร้องขอรับการอุดหนุนจากรัฐบาล ในกรณีที่มีการปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่ถูกกฎหมายนั้น ได้ให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาดไทย การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ได้หารือแนวทางในการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ต้องเริ่มต้นทางกฎหมาย ที่ทำผิดกฎหมาย จะให้รัฐบาลยอมรับให้ถูกต้องไม่ได้ แต่เราจะต้องหามาตรการในการช่วยเหลือยังไงที่ไม่เกิดข้อขัดแย้ง ข้อกฎหมาย วันนี้ก็จะได้นำมาตรการของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ มาร่วมกันพิจารณา ว่าจะทำยังไง จะชะลอ จะผ่อนผันหรืออะไรต่าง ๆ แล้วแต่ เป็นเรื่องของการจัดที่ดินด้วย เพราะฉะนั้นจะเชื่อมโยงกันไปทั้งหมด ขอให้ผู้ที่ปลุกระดมให้มีการเรียกร้อง บางคนเรียกร้องไปแล้ว ทำให้ไปแล้วก็เรียกร้องใหม่อีก คือไม่มีวันจบสิ้น ขอให้บรรดาแกนนำต่าง ๆ ระมัดระวังด้วย เคารพกฎหมายกันบ้าง แล้วอย่าพาประชาชนเขาไปเดือดร้อนด้วย ถ้าตัวเองอยากจะทำผิดกฎหมายก็ทำไป แล้วก็มีปัญหา พอบังคับใช้กฎหมาย ก็กลายเป็นละเมิดสิทธิมนุษยชนเข้าไปอีก ไปดูซิว่า อะไรกันเป็นตัวต้นสาเหตุ ในการถูกดำเนินคดี
ในส่วนของการช่วยเหลือนี้คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นการทำให้ยางพาราเกิน หรือปลูกพืชการเกษตรอื่น ๆ ก็ตาม นอกจากปลูกในพื้นที่ที่ถูกกฎหมายแล้ว แค่นั้นก็พอ อันนี้มีการสนับสนุนอื่น ๆ ในช่วงที่ผ่านมาอีก ทำให้มีการบุกรุกป่า ทำให้ป่าเสียหาย ลดจำนวนลง แล้วผลผลิตเกินความต้องการ เราถึงต้องมาเร่งกันทั้งลดปริมาณในการเพาะปลูก เพื่อจะลดปริมาณการผลิตวัตถุต้นทุนออกมา แล้วไปเสริมการผลิตในช่วงตรงกลาง โรงงานต่าง ๆ ส่งเสริมโรงงานขนาดเล็ก SMEs อะไรต่าง ๆ แล้วแต่ ไปสู่การตลาด ทั้งในประเทศนอกประเทศ เริ่มจากส่วนราชการก่อน
4. เรื่องต่อไปเรื่องที่สี่ เรื่องการแก้ปัญหาการปลูกอ้อยเกินความต้องการ วันนี้ก็มีหลายพื้นที่ ที่ผ่านมาก็พออะไรราคาดีก็ปลูก ปลูกกันจนเยอะไปหมด จนราคามันตก เพราะฉะนั้นจากมาตรการเดิม กฎหมายที่เราออกไปในสมัยรัฐบาลนี้ คือการมีมาตรการที่เข้มงวดในการที่จะก่อตั้งหรือสร้างโรงน้ำตาล จากเดิมที่ว่า 80 กิโลเมตรในสมัยก่อน ๆ นั้น ได้ปรับแก้ให้สามารถที่จะหาทางพบกันจนได้ คือลดลงเป็น 50 กิโลเมตรแล้ว แต่ยังมีหลายบริษัท หลายส่วน พยายามที่จะขอให้ลดลงไปอีก โดยให้ใกล้กว่า 50 กิโลเมตรเข้าไปอีก แล้วมีข้อยกเว้น ขอเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษบ้าง ขอในเรื่องของการช่วยรัฐในการลงทุนบ้าง
กฎหมายคือกฎหมาย เพราะฉะนั้นต้องไปใช้วิธีการอื่น ว่าจะทำยังไง แต่จะมาอ้างว่าเพื่อจะลดการช่วยเหลือ รัฐลง เพื่อที่จะรับซื้ออ้อยอะไรต่าง ๆ จากเกษตรกรที่ปลูกไว้มากมายไปหมด 4-5 แสนไร่ เหตุผลไม่พอดีอีก เพราะฉะนั้นหลักการคือกฎหมาย เหตุผลก็คือทำยังไงจะลดพื้นที่การปลูกลง ไม่เช่นนั้นพออ้อยมีจำนวนมากจะมีปัญหาอีก โรงงานผลิตไม่ทัน โรงงานไม่พอ พอไม่พอ ก็จะมาขอลดกว่า 50 ก็รวนไปทั้งหมดอีก รัฐบาลนี้พยายามทำให้มันยั่งยืน ก็ต้องเคารพกติกากัน
ในส่วนของการสร้างโรงน้ำตาล ถ้าสร้างมากเกินไปผลเสียก็คือว่า ผลิตน้ำตาลมามาก ๆ ราคาตกอีก อย่างไรก็ตาม ถ้ามากมายราคาตกแน่นอน อย่าคิดว่าราคาดีแล้วทำมากมาย ตกทุกอย่าง เพราะฉะนั้นขอให้นึกถึงกฎหมาย นึกถึงกระบวนการผลิต ส่งออกด้วย น้ำตาลโลกปีนี้ก็เห็นว่าราคาจะดี เลยปลูกกันใหญ่ เสร็จแล้วก็จนราคาตก จะทำอย่างไร จะต้องสมดุลกันตลอดเวลา ตามสถานการณ์ภายนอก
อันนี้ต้องกำหนดจากสถานการณ์ใช้น้ำตาลภายในประเทศ 2. คือตลาดเดิม 3. ตลาดใหม่ 4. การผลิตที่ประเทศอื่นก็ทำน้ำตาลมากขึ้นตามลำดับ เพราะทุกคนมองว่าราคาดี เลยถามว่าแล้วจะไปแข่งกันตรงไหน วันหน้าก็ไปแข่งลดราคากันอีก ก็แย่ไปทั้งระบบ เพราะฉะนั้นขอให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยได้เข้าใจ รัฐบาลกำลังจะหาทางแก้ไขว่าจะทำยังไงกับการปลูกอ้อยที่เกินมา หรือมากเกินไป วันนี้ก็มีปัญหาเรื่องน้ำอีก อ้อยก็จะตายทั้งหมด เพราะไม่มีน้ำ แล้วจะทำอย่างไร คือทุกอย่างต้อง 2 ทาง รัฐช่วย ท่านก็ช่วยตัวเอง ท่านก็ต้องเชื่อฟัง ท่านเคารพกฎหมาย ไม่เช่นนั้นแก้ไม่ได้ทั้งหมด
5. เรื่องการช่วยเหลือเกษตรกรในด้านผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ พยายามแก้ไขมาโดยตลอด ท่านลืมไปตลอด พอท่านเดือดร้อนที ท่านก็โทษ เรามีมาตรการออกมาเป็นสิบ ๆ มาตรการ ในการที่จะช่วยเหลือทุกคน แต่ท่านต้องร่วมมือทุกโครงการ ช่องทางท่านตรงกับตรงไหน ไม่ใช่ทุกคนก็จะเอาหมดทุกอย่าง ท้ายสุดจะต้องเอาเงินอีก จะเป็นไปได้อย่างไร เพราะฉะนั้นต้องพยายามเข้าใจข้อกฎหมาย เข้าใจนโยบายรัฐบาล การปลูกพืชเกินความต้องการ ปลูกในพื้นที่บุกรุก แล้วจะให้รัฐบาลรับผิดชอบทุกเรื่อง ก็ทำให้วงจรการแก้ไขปัญหาจับต้นชนปลายไม่ถูก วนไปวนมากลับมาที่เดิมหมด วันนี้เราต้องแก้ทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง โดยความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในลักษณะ “ประชารัฐ”
6. เรื่อง การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเพื่อการเกษตร การร้องเรียนว่า น้ำแล้ง ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว รัฐบาลประกาศให้ทราบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ว่า ปีนี้ น้ำจะแล้ง ฝนจะแล้ง ปรากฎฝนไม่ตก แล้งจริง ๆ ปีหน้าก็อาจจะแล้งอีกได้ อย่าประมาท ทุกเรื่อง รัฐบาลเตือนมาตลอด แต่ท่านก็อาจจะไม่ค่อยได้ฟัง ไม่สนใจเพราะท่านมุ่งแต่การจะปลูกพืชให้ได้ บางที่ก็แย่งน้ำกัน อะไรกันบ้าง น้ำที่จะต้องปล่อยไปข้างล่างหายหมด เพราะพยายามปลูกพืชยังไง
อีกเรื่องคือปัญหาน้ำเค็มเข้าในพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากมีการผลิตโดยการเลี้ยงปลา กุ้ง ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ในพื้นที่ตอนในอย่างไม่มีขีดจำกัด โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ อันนี้เจ้าหน้าที่ก็ต้องช่วยดูแล พอเข้าใจ เราไม่อยากไปลงโทษอะไร เพียงแต่ท่านต้องร่วมมือด้วย จะลดปริมาณลงอย่างไร การใช้น้ำลดลงหรือไม่ การผลิตอาจจะน้อยลง ถ้าหากว่าท่านอ้างเหตุผลอย่างเดียวว่า เป็นสินค้าที่มีราคาสูง เป็นสินค้าออกของประเทศ แต่มันผิดกฎหมาย แล้วท่านจะขายใครเขาได้ไหมวันหน้า ขณะเดียวกันทำที่ดินเสียหาย ความเค็มก็กระจายไปทั่ว แล้วพืชอย่างอื่นจะปลูกไม่ได้ นี่คือการเอาน้ำเค็มมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตอนใน สำหรับน้ำจืดก็เช่นเดียวกัน การเลี้ยงปลา บางทีใช้น้ำมาก ต้องมีการเปลี่ยนน้ำอะไรอยู่ตลอด ให้มันสมดุลก็แล้วกัน ห้ามอะไรไม่ได้อยู่แล้ว ทุกคนต้องเรียนรู้จะแก้ไขปัญหาของตัวเองได้อย่างไร ช่วยกันรักษาความสมดุลของธรรมชาติอย่างไร อย่ามองเฉพาะธุรกิจของตัวเองหากว่าสิ่งไหนเสียหายไปแล้วจะแก้ไขได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของระบบนิเวศน์ เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เหล่านี้มีผลกระทบทั้งสิ้น
การปลูกข้าวที่เราเคยปลูกข้าวดี ๆ ในพื้นที่ที่มีดินดี น้ำดี ในช่วงที่ผ่านมา ก่อนเข้ามามีการเร่งการปลูกข้าวทำให้ใช้ดิน ใช้ปุ๋ยในดินอย่างมากอันที่หนึ่ง อันที่สองก็คือเอาข้าวระยะสั้นไปปลูกในพื้นที่ที่ควรจะปลูกข้าวพันธ์ดี วันนี้เกิดการปลอมปนเข้ามาแล้ว ทางพันธุกรรมในพื้นที่ บางพื้นที่ได้ตรวจพบว่าข้าวพันธุ์หอมมะลิที่เคยมีขนาดเม็ดขนาดใหญ่ขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม วันนี้บางพื้นที่เริ่มมีปัญหาเมล็ดเล็กลง สั้น ไม่ได้ขนาด กลิ่น รสชาติ มันเปลี่ยนไปหมด เพราะเอาข้าวพันธุ์ไม่ดีไปปลูก ข้าวระยะสั้นไปปลูกในพื้นที่ที่ควรจะปลูกข้าว ข้าวนาปี บ้าง มีปัญหาหมด มีผลกระทบทั้งสิ้นเลย อาจต้องใช้เวลาแก้ไขเป็น 10 ปี เรื่องพันธุกรรมปลอมปนให้ ระมัดระวังด้วย
7. เรื่องการแก้ไขภัยแล้ง หลายคนก็บอก ว่ารัฐบาลมีมาตรการเพียงพอหรือยัง รัฐบาลทำอะไรหรือยังเกี่ยวกับเรื่องภัยแล้ง พูดมาหลายครั้งเหลือเกิน ขอความร่วมมือก็แล้ว มีมาตรการหลาย ๆ อย่างแล้ว ใช้เงินใช้ทองไปมากพอสมควร ยังบอกไม่ได้ทำอะไรอีก ไม่รู้จะทำอะไรอีกแล้ว เข้าใจดี น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการบริโภค อุปโภค โดยทำน้ำประปา เป็นหลักด้วย ในส่วนของน้ำเพื่อการเกษตร พืชผัก ผลไม้ น้ำอุตสาหกรรม อีกเรื่องคือการรักษาระบบนิเวศน์ การผลักดันน้ำเค็ม แล้วจะมาบอกว่า น้ำเค็มเข้ามาลึกเกินไป ต้องลึก น้ำข้างบนมันไม่มีปล่อยไปดันน้ำข้างล่าง เมื่อระดับน้ำทะเลหนุนสูงเข้ามาก็ลึกเข้ามาเรื่อย เราพยายามปล่อยตามที่เราควรจะต้องปล่อยอยู่ แต่ปรากฎว่าปล่อยลงมาแล้วไปไม่ถึงที่จะดันน้ำเค็มเพราะดูดใช้กันหมด เพราะยังเร่งการปลูกข้าว ปลูกข้าวนาปรัง ปลูกอย่างนี้ แล้วจะแก้อย่างไร ในเมื่อน้ำต้นทุนมีไม่พอ ท่านต้องเรียนรู้ แล้วก็เสียหายอีก
รัฐบาลมีมาตรการมาอย่างต่อเนื่อง 2 ปีแล้ว เรื่องการสร้างการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกพืชเชิงเดี่ยว การทำไร่นาสวนผสม การเลี้ยงสัตว์ มีเกษตรกรปรับตัวจำนวนหนึ่ง มีการปรับตัว ร่วมมือ พัฒนาใช้เทคโนโลยี Smart Farmer ที่ว่า ได้รับผลดีมาตลอด แต่บางส่วน ส่วนใหญ่ไม่ค่อยร่วมมือ เพราะว่าเคยชินกับการปลูกพืชแบบนั้นตั้งแต่ปู่ย่า ตายายมา ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมรับความรู้ต่าง ๆ วันนี้ต้องไปด้วยกันทั้งหมด เพราะว่าการปลูกข้าวเป็นสิ่งสำคัญ เป็นเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของชาวนา ผมรู้ แต่ถ้าปลูกแล้วขาดทุน แล้วจะทำยังไง รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบอย่างไรอีกไม่รู้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นอย่าไปรอเวลา รอให้รัฐจ่ายเงินช่วยเหลือ วันนี้เป็นกังวล กับการประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้ง จะให้ไปตรวจสอบ กรณีประกาศทั้งจังหวัด หรือเป็นบางอำเภอ บางพื้นที่ หรือเฉพาะพื้นทีปลูกพืชการเกษตร เดือดร้อนคนละอย่าง แต่ถ้าประกาศเท่าเทียมกันทั้งหมด บางพื้นที่ไม่ได้ใช้น้ำเพื่อการเกษตร บางพื้นที่มีความเดือดร้อนเรื่องน้ำอุปโภค บริโภค แหล่งน้ำประปา บางพื้นที่เรื่องการเลี้ยงสัตว์ กิจกรรมต่างกัน คนละอำเภอ คนละจังหวัด คนละพื้นที่ ไปดูประมาณอย่างไร ถึงจะต้องประกาศตามนั้น ตอนนี้ประกาศไป แล้วต้องประกาศกันอีกกี่จังหวัด ต้องประกาศทั้งหมด 77 จังหวัด แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาดูแล มาเยียวยากันอีก ทำให้ถูกต้องทำให้ชัดเจน ฝากในส่วนของภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยกันตรวจสอบด้วย คสช. ไปตรวจสอบด้วย ทุกพื้นที่เลย ว่าแล้งจริง หรือไม่ แล้งอย่างไร แล้งเรื่องอะไร บางเรื่องอาจจะต้องดูแล บางเรื่องไม่ต้องดูแล เพราะไม่เท่ากัน ถ้าทุกคนจะต้องแก้ปัญหาด้วย ก็เท่า ๆ เท่าทุกคนหมด จะเอาเงินที่ไหน
ปัจจุบันทุกคนควรจะต้องทราบแล้วว่า “น้ำต้นทุน” เรามีน้อย น้ำต้นทุนเรามาจากไหน เขื่อน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก เขตชลประทาน นอกเขตชลประทาน แล้วแหล่งเก็บน้ำในพื้นที่ แหล่งเก็บน้ำในไร่นา ทั้งนี้เนื่อง จากปริมาณฝนตก ตกใต้เขื่อนส่วนใหญ่ หลายปีมาแล้ว น้ำต้นทุนก็ลดลง แต่ใช้น้ำมากขึ้น วันนี้ต้องช่วยกัน ในเรื่องของการใช้น้ำเพื่อการเกษตรอย่างไม่จำกัดต้องไม่เกิดขึ้นอีก ต้องฟังเหตุ ฟังผลบ้าง น้ำที่ปล่อยลงมาผลักดันน้ำเค็มอย่างที่กล่าวไปแล้ว ถูกใช้ไปทำการเกษตรทั้งหมด สำหรับพืชเชิงเดี่ยวจนผลผลิตล้นตลาด คุณภาพใช้ไม่ได้ ก็ตายแล้ว ตายอีก ปลูกอีก ตายอีก ก็ยังปลูกอยู่อย่างนั้น เข้าใจว่าท่านคงจะเคยชินกับการแก้ปัญหาเดิม เดี๋ยวชดเชยให้ ขอถามว่าเมื่อไรจะโตกันซะที ทั้งรัฐ ทั้งรัฐบาล มองอนาคตมากกว่า วันนี้ก็ต้องแก้ปัญหาให้ได้ไปก่อน ระยะยาวเรามีแผนปฏิบัติอยู่แล้ว
การแก้ปัญหาสำคัญที่สุดคือพื้นที่ตอนในจะแห้งแล้งน้ำพื้นที่ตอนข้างนอกก็แล้งเหมือนกัน เพราะข้างในใช้ไปก่อน ถ้าทุกคนฟังและร่วมมือ มาตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2557 รัฐบาลจำได้ว่า รัฐบาลได้ปรับปรุงจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำใหม่ทั้งหมดอยู่แล้ว ให้ครอบคลุมทุกกิจกรรม แผนเดิมไม่ครอบคลุม วันนี้ได้เริ่มดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำแหล่งน้ำใหม่ ให้ตรงกับพื้นที่เพาะปลูก ที่มีอยู่เดิม ไม่ตรงพื้นที่ปลูกอีก ไม่มีระบบส่งน้ำจะทำยังไง พอจะทำทีเดียวก็ทำไม่ทั่ว เพราะงบประมาณสูง ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ผล
เราคิดไปต่อเรื่องการเติมน้ำในเขื่อน เอาน้ำก่อนลงแม่น้ำระหว่างประเทศ มาใช้ก่อน ก่อนจะลงไป มีปัญหาความขัดแย้งกับประชาชนขึ้นมาอีก ไม่อยากให้เอาไปที่อื่น เหล่านี้ เป็นปัญหาที่เราต้องแก้ร่วมกันทั้งสิ้น อย่าให้รัฐบาลต้องบังคับใช้อำนาจใช้มาตรา 44 ใช้เหล่านี้ ไม่ได้หรอก เรื่องที่มีผลกระทบกับคนอื่นด้วยนี่ เพราะฉะนั้นต้องดูแลกัน คนไทยด้วยกัน เราต้องแก้ระบบทั้งระบบ การผลิต การผลิตคือการปลูกพืช วัสดุต้นทุนออกมา การผลิตโรงงานแปรรูป ก็ต้องแก้ ตลาดในประเทศ นอกประเทศ ต่างประเทศประชาคมโลก แก้หมดอย่างนั้นถึงจะแก้แบบยั่งยืน
ถ้าเราแก้วันนี้ทีเดียวต้องอาศัยเวลางบประมาณจำนวนมาก เช่นเดียวกัน แผนปฏิรูปที่เขียน ๆ กันออกมา ให้จัดกิจกรรมหลัก รอง เสริมให้ได้ ใครจะทำตรงไหน จะได้ไปกำหนด แผนงานให้ชัดเจน ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลตามนโยบายของรัฐบาล กลยุทธ์ต่าง ๆ ก็ว่ามา คือคงระบุไว้ได้อย่างนั้น แผนเขียนไว้ล่วงหน้า ให้เขาไปดู วันหน้าเขาก็ต้องไปทำ จะทำต่อไม่ทำต่อก็ไม่รู้เหมือนกัน
เรื่องของความสำคัญในระดับกลุ่มงาน ต้องเข้าใจตรงกัน สิ่งใดคือ โร้ดแม๊ป ของ คสช. สิ่งใดคือ โร้ดแม๊ปของการปฏิรูป สิ่งใดคือเรื่องของการบูรณาการ เหล่านี้คือปัญหาทั้งสิ้น พอไม่เข้าใจ แล้วก็ทำไม่ได้ วันนี้ก็อยากรายงานความคืบหน้าเรื่องน้ำประปา หลายหมู่บ้านยังไม่มี เดิมประมาณ 7-8 พันแห่ง ไม่มีแหล่งน้ำประปา ไม่มีน้ำประปาใช้ ลำบากมาแล้ว วันนี้รัฐบาลนี้ เข้ามาแก้จนกระทั่งเหลือ ประมาณ 4 พันแห่ง ซึ่งจะเสร็จปีหน้า 60 นี่คือสิ่งที่ทำให้ แล้วเคยได้ทำมาหรือไม่ เรื่องของการเจาะบ่อบาดาลขนาดใหญ่ ที่ลึกใช้เครื่องมือใหม่เข้ามา ไม่ใช่ไปจ้างคนมานั่งหมุนสว่านเจาะมืออยู่อย่างนี้ ใช้น้ำได้นิดเดียว ใช้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ น้ำดื่ม น้ำต่าง ๆ ไปใช้ปลูกพืชไม่ได้ แต่ถ้าเราใช้มาก ๆ เกินไป เจาะมากเกินไป แหล่งน้ำใต้ดินมันก็หายไป วันหน้าความแห้งแล้ง ยิ่งลึกเข้าไปอีก เพราะน้ำลดลงไปจากน้ำใต้ดิน รักษาระดับน้ำใต้ดินให้ได้ มีเปอร์เซ็นต์ของมันอยู่ แท่นเจาะใช้มาก ก็แห้งแล้งเร็วขึ้น วันหน้าพอจะใช้ ไม่มีแล้ว เพราะฉะนั้นจะต้องแยกแยะให้ออกว่าน้ำไหนจะใช้ในการอุปโภค บริโภค น้ำไหนใช้ในการทำการเกษตร ต้องไปแก้ปัญหาทั้งหมด การใช้ที่ดินให้ถูกต้องเหมาะสม ใช้น้ำให้น้อย ใช้ระบบน้ำหยดบ้าง ดูต่างประเทศเขาทำมากมาย บางประเทศไม่มีน้ำเลย ฝนไม่ตก แต่เขาปลูกพืชได้ เขาทำยังอย่างไร เขาเป็นตัวอย่างมาหลายสิบปีมาแล้ว เป็นประเทศเขานี่เป็นเจ้าของกิจการมากมายไปหมด อันนี้เขาใช้สติปัญญาทั้งสิ้น ใช้ความอดทน ใช้การเรียนรู้ ใช้การถ่ายทอดเทคโนโลยี ข้อสำคัญคือต้องร่วมได้รับความร่วมมือจากพี่น้องเกษตรกรข้าราชการต้องช่วยกัน ช่วยตัวเองบ้าง เชื่อฟังรัฐแนะนำ แล้วสิ่งไหนที่ทำเองไม่ไหวรัฐจะเข้าไปช่วย ทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง
วันนี้ เรื่องแผนคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำนั้น เราได้ทบทวนทั้งหมด แม้กระทั่งที่เราปรับมาจากแผนที่ ของก่อนหน้าเรา ทำใหม่ให้ครบทุกกิจกรรมแล้ว ต้องมาทบทวนอีกว่า สิ่งไหนก็ตามที่เป็นแผนระยะยาว ยังไม่เกิดผลตอนนี้ ต้องปรับมาทำตอนนี้ก่อน ทำเพื่อรองรับน้ำฝนฤดูหน้า การเพาะปลูกฤดูหน้า ซึ่ง ถ้าน้ำน้อยคือปัญหา แต่ถ้าไม่มีอะไรรองรับไว้เลย ยิ่งปัญหามาก
เพราะฉะนั้นทำแหล่งน้ำขนาดเล็กให้กระจัดกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ ขุดลอกคูคลอง แหล่งน้ำสาธารณะ หนองบึง ที่เคยมี แต่ตื้นเขิน อาจจะต้องไปทำ ไปดูว่าถนนหนทางที่สร้างไว้ กั้นไว้ เขาเรียกว่าที่ Water Shade ของพื้นที่รับน้ำ ที่จะลงเขื่อนลงอ่าง ลงอะไรแล้วแต่ ทำทุกอย่างกีดขวางไปหมด ปลูกบ้าน หมู่บ้านจัดสรร ถนนหนทาง ไม่มีท่อลอด ไม่มีสะพาน ไม่มีอะไรเหล่านี้ คือปัญหา เป็นที่กักเก็บน้ำ ทำให้น้ำท่วมก็ได้ ทำให้น้ำไม่ไหลลงในที่เก็บน้ำได้ ต้องคิดให้รอบคอบ ทุกกระทรวงทำงานร่วมกัน
สิ่งที่สำคัญที่สุดวันนี้คือทุกคนต้องเตรียมการ ใช้น้ำอย่างประหยัดในทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค เกษตรกรใช้ในการเกษตร และทุกคนจะต้องช่วยกัน เข้าใจว่าต้องผลักดันน้ำเค็มออกไปด้วย ไม่เช่นนั้นวันหน้าปลูกพืชอะไรไม่ได้เลยแล้วใครจะช่วยท่านได้ รัฐบาลก็ช่วยไม่ได้ ไม่ใช่ว่าตอนนี้เห็นน้ำยังมีอยู่ใช้ให้หมดแล้วใช้ไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ ต้นน้ำใช้ไปเต็มที่เลย ตรงกลางน้ำก็ไม่แฮปปี้ ไม่พอใจตรงกลางเอาบ้าง ตรงท้ายก็เอาบ้าง แย่งกัน ทะเลาะกัน แย่งกันใช้น้ำ วันหน้าจะเกิดสงครามแย่งน้ำกันหรือเปล่าไม่รู้เลย รัฐบาลก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน ทหารไปบังคับท่านก็ลำบาก ใช้กฎหมายมาก ๆ มีปัญหาอีก เพราะฉะนั้นเราก็ได้แต่เพียงเตือนว่าการเพาะปลูกใหม่ ๆ จากนี้ไปก็อาจจะเสียหาย แน่นอน เพราะว่าน้ำมีแค่นี้ แล้วท่านเพิ่งเริ่ม ปลูกเวลานี้จะไปได้เมื่อไร อย่าน้อยก็ 3-4 เดือน ระยะสั้น ระยะยาว ต้องไปรอปีหน้า 6 เดือนขึ้นไป ไปคิดเอา ไม่ใช่น้ำคือน้ำ รัฐบาลคือรัฐบาล รัฐบาลมีหน้าที่ในการดูแลประชาชน จัดหาน้ำให้ได้ จะไปหาที่ไหน การทำไร่นาสวนผสม ตอนนี้ต้องทำ รัฐบาลจะปรับเรื่องแหล่งน้ำ ปรับงบประมาณ ปรับแผนมาให้มากขึ้น ใช้ทหารด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพย์ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สั่งการรัฐมนตรีไป ก็กำลังทำทั้งหมด ช่วยกันแล้วกัน ในส่วนการจัดหางานเพิ่มเติม ต่อไปเราต้องกำหนดแผนงาน พื้นที่การใช้น้ำใหม่ทั้งประเทศ เพื่อจะสอดคล้องกับน้ำที่เรามีอยู่ สอดคล้องกับ ปริมาณการปลูกพืชที่จะต้องคำนึงความต้องการของท้องตลาด ในประเทศ ต่างประเทศ ประชาคมโลก ไม่เช่นนั้นราคาตกหมด ระหว่างนี้จะทำยังไง ประชาชนต้องทำไร่นาสวนผสม มีทั้งปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านทรงรับสั่งไว้นานแล้วหลายเรื่อง ทฤษฎีใหม่ก็มี เพราะฉะนั้นถ้าไม่ร่วมมือกัน อันตราย แล้วน้ำ ใกล้จะหมดแล้ว เพราะว่าฝนมันตกน้อย เนื่องจากสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ต่อไปป่าถูกทำลายไปไม่รู้เท่าไร ต้นน้ำถูกทำลายทั้งหมด แล้วถามว่าจะอยู่กันอย่างไร ดูภูเขาหัวโล้นเต็มไปหมด น้ำมาจากภาคเหนือ แต่ภาคเหนือหัวล้านหมด แล้วน้ำมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร จะมาจากที่ไหน ไม่รู้เหมือนกัน ต้องเร่งปลูกป่า ปลูกเร่งได้ไหม ป่าจะโตกี่ปี ที่ตัด ๆ ไป ต้นไม้อายุ 20-30 ปี จะเกิดขึ้นได้ไหม ถ้าแก้ตรงนั้นไม่ได้ ต้องแก้ตรงปลายเหตุ คือใช้น้ำให้น้อยลง ใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น รัฐบาลก็พร้อมจะไปดูแลส่งเสริมตรงนี้ ขอให้เข้าไปหาผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ไปหาศูนย์การเรียนรู้ มากมายไปหมด โทรทัศน์ วิทยุ ให้แพร่ต่อไป ว่าจะทำอย่างไร ให้ช่วยเสนอมาตรการของรัฐบาลในทุก ๆ เรื่อง ใช้งบประมาณสิ่งไหน อย่างไร ใครจะมีส่วนร่วมได้ตรงไหน เพื่อจะแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
ในส่วนของผลสำเร็จของเกษตรกร บางคน บางส่วนที่ เชื่อฟังคำชี้แจง มีการปรับตัวไปทำไร่นาสวนผสม ปลูกพืชเสริม เลี้ยงสัตว์ มีอาชีพอื่น ๆ อีกด้วย ทุกคนเขาอยู่ได้หมด คนเหล่านั้นเขาอยู่ได้แล้ว เขาไม่เดือดร้อน แต่คนที่ไม่ปรับตัวเองเลย เดือดร้อนแน่นอน หลายที่กำลังออกทีวี ช่อง 11 ช่อง 5 ช่องรัฐสภา บางช่องดูไปปวดหัว เพราะเรื่องธุรกิจ เรื่องบันเทิง เรื่องของท่านไม่ไปยุ่ง ไม่ไปบังคับ แต่เรื่องสิ่งไหนที่เป็นสาระน่ารู้ ควรจะช่วยกันบ้าง หากว่าไม่บอกเลยว่ารัฐบาลทำอะไร กำลังแก้ไขตรงไหน ขอความร่วมมืออย่างไร แต่เอาภาพของความขัดแย้ง เวทีที่ประชาชนขัดแย้ง หรือไม่ก็เป็นเวทีที่ประชาชนเรียกร้อง จะไปกันได้ไหม สมดุลกันไหม ระหว่างผู้ทำกับผู้ใช้ เดือดร้อนไปทั้งหมด ท่านสำนึกในหน้าที่ตรงนี้ด้วย
หน้าที่ของสื่อที่มีจรรยาบรรณ ช่วยไปดูด้วย ใครเดือดร้อนไปดูช่อง 11 ช่อง 5 ช่องรัฐสภา ไม่ได้โฆษณาให้ใคร ที่ต้องพูดเพราะว่าข้อมูลที่พูดไป บางทีไม่ออก ไปออกแต่ความขัดแย้งอะไรก็ไม่รู้ หรือไม่ก็เอาความเดือดร้อนมาพูดนำหน้า ไม่ได้บอกว่าปัญหาอยู่ตรงไหน แล้วรัฐบาลแก้สิ่งไหนไปแล้ว เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องช่วยกัน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงกันบ้าง ทีวี โทรทัศน์ โซเชียลมีเดีย ไปทบทวนดู ท่านจะช่วยประเทศชาติอย่างไร ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับช่วยกันทำลายประเทศต่อไปเรื่อย ๆ สร้างความเข้าใจไปต่อ ๆ ไป สอนให้ประชาชนไม่โตสักทีแบบนี้ ไม่โตเพราะอะไร เพราะรัฐบาลที่ผ่านมาไม่เข้มแข็ง ไม่เข้มแข็งเพราะอะไร เพราะไม่แก้ปัญหาในเชิงองค์รวม ไม่แก้ปัญหาในเชิงบูรณาการ ไม่ยั่งยืน เขาก็ไม่โตสักที วันนี้ต้องให้เขาโตได้แล้ว ด้วยการเรียนรู้ ด้วยการสนับสนุน ด้วยการส่งเสริม ด้วยความเข้าใจถ้าท่านไม่ช่วยไม่มีสำเร็จทุกเรื่อง
วันนี้มีหลายกลุ่มเกษตรกรเตรียมการเคลื่อนไหว เตรียมการเรียกร้องมากมายไปหมด บางคนให้ไปแล้ว มาขอใหม่อีก อย่างนี้ขอไม่รู้กี่ครั้งบางคนจำได้ แก้ให้ตรงนี้แล้วก็โอเค รับได้ ยังไม่ทันแก้เสร็จเลย ขอใหม่ต่ออีกแล้ว ไม่เข้าใจ จะเรียกร้องไปถึงไหนกัน ต้องอย่าใช้ผู้มีรายได้น้อยเป็นเครื่องมือ วันนี้เคลื่อนไหวเรื่องการตั้งคณะกรรมการ ต้องมีการทบทวน เพราะอะไร เพราะคนของตัวเองเข้าไม่ได้ใช่หรือไม่ ไม่รู้เหมือนกัน แล้วจะเข้ามากันเท่าไร ตกลงกันไม่ได้สักครั้ง คือปัญหาประเทศไทย ขัดแย้งกันเอง ผลประโยชน์ตัวเอง สร้างความมีตัวตน จาก No body เป็น Some body ทำนองนี้ ต้องช่วยกันทำ ทั้งหมดนั้น คือ ปัญหาของชาติ ทั้งสิ้น ต้องช่วยกันกลับมามองตนเองว่า เราจะร่วมมือกันอย่างไร ในคำว่า “ประชารัฐ” ขอเวลาให้ รัฐบาล คสช. ทำงานอีกปีครึ่ง สำคัญที่สุด จะได้ร่วมมือกันในเรื่องการปฏิรูปประเทศ ในระยะที่ 1 ด้วย หลายคนบอกไม่ได้ทำ ไม่ได้ทำอะไร ถ้ามาร่วมมือจะรู้ว่าทำอะไรอยู่ จะได้ช่วยตรงไหนได้ ไม่ใช่อ้างไปเรื่อย แล้วจะได้ประโยชน์อไร จะได้อย่างไร เพราะเพิ่งเริ่มทำ ไม่เคยทำมาก่อน ทั้งนี้จะเริ่มระยะที่ 1 แล้ว ปฎิรูปจะเป็น 2 – 3 – 4 – 5 เพราะฉะนั้น ถ้าเกี่ยวกับแผน ประมาณแผน 12 - 13 – 14 – 15 อันที่ 15 สุดท้ายนี่อีกที เพราะแค่ 20 ปีแรก วันนี้กำลังอยู่ในแผน 12 ในช่วงต้น แล้วต่อไปก็ แผน 13 แผน 14 แผน 15 แผนละ 5 ปี 5 x 4 20 พูดหลายครั้งแล้ว
รวมถึงความร่วมมือในการปฏิรูปประเทศด้วย อยากให้เข้าใจร่วมกันว่า ระยะที่ 1 ตั้งแต่ คสช. เข้ามา เราอยู่ในแผนที่ 11 ตั้งแต่เดือนพฤษภา 2557 ปลาย ๆ แผนที่ 11 จนถึง 59 เพราะฉะนั้นต่อไป แผนที่ 12 คือตั้งแต่ 60 เป็นต้นไป อีก 5 ปี แล้วก็จะมีแผน 5 ปี ต่อไป 5 ปี เพราะฉะนั้นการปฏิรูปก็ต้องสอดคล้องอย่างนี้ สอดคล้อง 4 ระยะ ระยะที่ 1 กำลังทำอยู่ ระยะที่ 2 ไปดูแผนที่ 12 ระยะที่ 3 ไปแผนที่ 13 ระยะที่ 4 เป็นแผนที่ 14 ครบ 20 ปีพอดี ยุทธศาสตร์ประเทศเป็นอย่างนั้น แล้วก็ต้องไปดู แผนพัฒนาเศรษฐกิจด้วย จะสอดคล้องกันทั้งหมด
จำได้ อ่านหนังสือ ทุกท่านดูอยู่แล้ว คำว่า “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว” ประวัติศาสตร์โบราณกาล เช่นเดียวกัน ประเทศไทยจะเข้มแข็ง ประชาชนจะมีรายได้สูง เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ลดความขัดแย้ง เพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันนั้น ไม่อาจจะสร้างได้ภายในปีเดียว หรือ 2 ปี – 3 ปี ใช้เวลาอีกเนิ่นนาน ใช้เวลาอีกมาก ในการที่จะเริ่มต้น ประคับประคอง ค้ำยันแล้วก็ต่อเติม อิฐ หิน ปูน ทราย น้ำลงไป เพื่อผสม แต่สำคัญที่สุดคือ “น้ำใจ” เป็นส่วนผสมที่สำคัญ น้ำใจแห่งความร่วมมือ น้ำใจความเสียสละ ร่วมมือกัน ไม่ใช่บอกว่า คสช